วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552

การประมวลจริยธรรมของข้าราชการตุลาการที่ผู้พิพากษาสมทบจะต้องถือปฏิบัติ

การประมวลจริยธรรมของข้าราชการตุลาการที่ผู้พิพากษาสมทบจะต้องถือปฏิบัติ และใช้บังคับโดยอนุโลมเท่าที่จะพึงใช้บังคับได้
อุดมการณ์ของผู้พิพากษา (ที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษาสมทบ)
ข้อ 1 หน้าที่สำคัญของผู้พิพากษาสมทบคือ การประสานความยุติธรรมแก่ผู้มีอรรถคดี ซึ่งจักต้องปฏิบัติด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เที่ยงธรรม ถูกต้องตามกฎหมายและนิติประเพณี ทั้งจักต้องแสดงให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนด้วยว่าตนปฏิบัติเช่นนี้อย่างเคร่งครัดครบถ้วน เพื่อการนี้ผู้พิพากษาจักต้องยึดมั่นในความเป็นอิสระของตนและเทิดทูนไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งสถาบันตุลาการ ข้อ 2 ผู้พิพากษาพึงตรวจสำนวนความและตระเตรียมการดำเนินกระบวนการพิจารณาไว้ให้พร้อม ออกนั่งพิจารณาตรงตามเวลาและไม่เลื่อนการพิจารณาโดยความจำเป็น ข้อ 3 ในการนั่งพิจารณาคดี ผู้พิพากษาจะต้องวางตนเป็นกลาง ปราศจากอคติ ทั้งพึงสำรวมตนให้เหมาะสมกับตำแหน่ง หน้าที่ แต่งกายเรียบร้อย ใช้วาจาสุภาพ ฟังความจากคู่ความและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างตั้งใจ ให้ความเสมอภาค และมีเมตตาธรรม ข้อ 4 ผู้พิพากษาจักต้องพิจารณาคดีโดยไตร่ตรอง สุขุม เรียบร้อย และชักช้า พึงตัดการดำเนินกระบวนการพิจารณาที่ไม่จำเป็นออกเพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ข้อ 5 ผู้พิพากษาจะต้องควบคุมการดำเนินกระบวนการพิจารณาในศาลให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทั้งจักต้องมิให้ผู้ใดประพฤติตนไม่สมควรในศาล ข้อ 6 ผู้พิพากษาจะต้องละเว้นการกล่าวถึงข้อเท็จจริงในคดีที่อาจกระทบกระเทือนต่อบุคคลใดไม่วิจารณ์หรือให้ความเห็นแก่คู่ความ หรือ บุคคลภายนอกเกี่ยวกับคดีที่อยู่ในการพิจารณา หรือกำลังจะขึ้นสู่ศาล แต่ผู้พิพากษาผู้มีอำนาจแถลงให้ประชาชนเข้าใจถึงวิธีพิจารณาความของศาลเมื่อมีเหตุผลสมควร ข้อ 7 การถ่ายภาพ ภาพยนตร์ บันทึกภาพหรือเสียง หรือการกระทำอย่างอื่นในทำนองเดียวกันในการนั่งพิจารณาพิพากษาคดีของศาลจะกระทำมิได้ เว้นแต่ผู้พิพากษาตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาภาคขึ้นไปเป็นผู้อนุญาตเฉพาะกรณีจำเป็นอย่างยิ่ง แต่พึงระมัดระวังมิให้เป็นที่เสื่อมเสียหรือกระทบกระเทือนต่อการพิจารณาคดี คู่ความ พยานหรือบุคคลอื่นข้อ 8 การเปรียบเทียบหรือไกล่เกลี่ยคดีจักต้องกระทำในศาล ผู้พิพากษาพึงชี้แจงให้คู่ความทุกฝ่ายตระหนักถึงผลดีผลเสียในการดำเนินคดีต่อไป ทั้งนี้ จักต้องไม่ให้คำมั่น หรือบีบบังคับให้คู่ความฝ่ายได้ฝ่ายหนึ่งหรือทุกฝ่ายยอมรับข้อเสนอใด ๆ หรือให้จำเลยรับสารภาพโดยไมสมัครใจ และจักต้องไม่ทำให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งระแวงว่าผู้พิพากษาฝักใฝ่ช่วยเหลือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ข้อ 9 ผู้พิพากษาพึงระลึกว่าการนำพยานหลักฐานเข้าสืบ และการซักถามพยานความเป็นหน้าที่ของคู่ความและทนายความของแต่ละฝ่ายที่จะกระทำ ผู้พิพากษาพึงเรียกพยานหลักฐานหรือซักถามพยานด้วยตนเองก็ต่อเมื่อจำเป็นเพื่อประโยชน์ของความยุติธรรมหรือมีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ศาลเป็นผู้กระทำเอง ข้อ 10 การบันทึกคำเบิกความผู้พิพากษาจะต้องบันทึกเฉพาะข้อความในประเด็นข้อพิพาทหรือเกี่ยวข้องกับประเด็นข้อพิพาท และต้องได้สาระถูกต้องครบถ้วนตามคำเบิกความ ข้อ 11 ในการปรึกษาคดี ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนจักต้องตระเตรียมคดีนั้นล่วงหน้าอย่างถี่ถ้วนและจักต้องชี้แจงข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายต่อองค์คณะอย่างถูกต้องครบถ้วน ผู้พิพากษาที่เป็นองค์คณะจักต้องร่วมพิจารณาให้ข้อคิดเห็นและเหตุผลประกอบเสมือนหนึ่งตนเป็นเจ้าของสำนวนคดีเรื่องนั้นเอง ผู้พิพากษาที่ร่วมกันพิจารณาคดีพึงเคารพในความคิดเห็น และเหตุผลของกันและกัน ทั้งนี้เพื่อให้ได้คำวินิจฉัยชี้ขาดที่ถูกต้องและเที่ยงธรรม ข้อ 12 เมื่อจะพิพากษาหรือมีคำสั่งใดในคดีเรื่องใด ผู้พิพากษาจักต้องละวางอคติทั้งปวงเกี่ยวกับคู่ความหรือคดีความเรื่องนั้น ทั้งจักต้องวินิจฉัยโดยไม้ชักช้าและไม่เห็นแก่หน้าผู้ใด คำพิพากษาและคำสั่ง จักต้องมีคำวินิจฉัยที่ตรงตามประเด็นแห่งคดีให้เหตุผลแจ้งชัดและสามารถปฏิบัติตามนั้นได้ การเรียงคำพิพากษาและคำสั่งพึงใช้ภาษาเขียนที่ดี ให้ถ้อยคำในกฎหมายใช้โวหารที่รัดกุมเข้าใจง่ายและถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานสถานข้อความอื่นใดอันไม่เกี่ยวกับการวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีโดยตรง หรือไม่ทำให้การวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวชัดแจ้งขึ้น ไม่พึงปรากฏอยู่ในคำพิพากษาหรือคำสั่ง ข้อ 13 ในการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ผู้พิพากษาจักต้องควบคุมให้การออกกฎหมายหรือบังคับ ตรงตามคำพิพากษา หรือคำสั่ง และจักต้องออกโดยพลัน ข้อ 14 ผู้พิพากษาพึงถอนตัวจากการพิจารณาและพิพากษาคดี เมื่อมีเหตุที่ตนอาจถูกคัดค้านได้ตามกฎหมายหรือเมื่อมีเหตุประการอื่นที่เกี่ยวกับตัวผู้พิพากษาอันอาจให้การพิจารณาพิพากษาในคดีนั้น ๆ เสียความยุติธรรม และจักต้องไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการจูงใจให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาพิพากษาคดีนั้นในภายหลังในประการที่อาจทำให้เสียความยุติธรรมได้
ข้อควรปฏิบัติของพิพากษาสมทบ รวบรวมโดย ศาสตราจารย์เริงธรรม ลัดพลี
คุณสมบัติพิเศษสำหรับผู้ที่มาเป็นผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวมีว่า “การแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งจากข้าราชการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ ซึ่งเป็นผู้มีอัธยาศัย และความประพฤติเหมาะสมที่จะปกครอง และอบรมสั่งสอนเด็กและเยาวชน และเป็นผู้มีความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาครอบครัว” ความสำคัญของศาลเยาชนและครอบครัวดังกล่าว ผู้พิพากษาสมทบสำหรับผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเป็นองค์คณะร่วมพิจารณาพิพากษาร่วมกับผู้พิพากษา จึงควรต้องสำนึกตระหนักถึงหน้าที่สิทธิของตน ทั้งถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด และอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎบัญญัติว่าด้วยวินัยและการรักษาวินัยสำหรับข้าราชการตุลาการโดยอนุโลม ผู้พิพากษาสมทบชาย แต่งกายชุดปฏิบัติข้าราชการ ชุดสากลนิยม หรือเสื้อชุดไทย หรือชุดปฏิบัติงานนอกสถานที่เป็นหมู่คณะ เสื้อนอกคลุม ตามแบบละศาลที่กำหนด หรือชุดงานพิธี เครื่องแบบปกติขาวตามกำหนดการ ผู้พิพากษาสมทบหญิง แต่งการชุดปฏิบัติข้าราการ เสื้อเชิ้ตขาว ประกอบเสื้อนอกคลุม ฯลฯ กระโปรงสีกรมท่า หรือสีดำ หรือชุดปฏิบัติงานนอกสถานที่เป็นหมู่คณะ ตามแบบละศาลที่กำหนด หรือชุดงานพิธี เครื่องแบบปกติขาวตามกำหนดการ การปฏิบัติราชการ ให้ถือตามหนังสือเชิญ และการลงนามในบัญชีลงเวลาปฏิบัติราชการซึ่งต้องจรวจสอบตรงกับบัญชีนัดหมายและตรงต่อเวลา โดยเริ่มแต่เวรปกติจนกว่าจะเสร็จสิ้นคดีในวันนั้น แจ้งผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนเพื่อแสดงว่าได้มาปฏิบัติหน้าที่แล้ว เพื่อผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนจะมอบสำนวนและรายงานของสถานพินิจให้อ่าน หรือปรึกษาคดีตามที่นัดมา ผู้พิพากษาสมทบจะต้องอ่านรายงานของสถานพินิจเกี่ยวกับคดีก่อนนั่งพิจารณา รายงานของสถานพินิจจะบรรจุอยู่ในซองแนบติดมากับสำนวนและเสนอไว้ที่ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน เนื่องจากรายงานมีเพียงฉบับเดียวแต่ต้องเวียนกันอ่านระหว่างผู้พิพากษาและผู้พิพากษาสมทบ ดังนั้นเมื่อผู้พิพากษาสมทบอ่านเสร็จแล้วต้องรีบนำไปคืนผู้พิพากษาทันที เพื่อผู้พิพากษาและผู้พิพากษาสมทบท่านอื่นจะได้อ่านได้ต่อไป อ่านเสร็จแล้วอย่าได้วางทิ้งไว้เป็นอันขาด ถ้าผู้พิพากษาสมทบมีความข้องใจสงสัยรายงานตอนหนึ่งตอนใดให้ปรึกษาเรียนถามเจ้าของสำนวนเพื่อผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนอาจเรียกเจ้าหน้าที่ที่จัดทำรายงานมาสอบถามรายละเอียดให้ การอ่านรายงานคดีอาญา ควรตั้งข้อสังเกตในการพิจารณาเด็กหรือเยาวชนที่เป็นจำเลยและการอบรมในเรื่องอายุ ประวัติ ความประพฤติ การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิตนิสัย อาชีพและฐานะของจำเลย ตลอดจนสิ่งแวดล้อมทั้งปวงเกี่ยวกับจำเลยและของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่จำเลยอาศัยอยู่ หรือบุคคลที่ให้การศึกษาหรือให้ทำการงานรวมทั้งสถานภาพของผู้เสียหายด้วย ส่วนคดีแพ่งเกี่ยวกับครอบครัว ก็ดูรายงานเกี่ยวกับประเด็นนั้น ๆ เป็นเรื่อง ๆ ไป ทั้งนี้ผู้พิพากษาสมทบควรตรวจดูคำฟ้อง คำให้การ และประเด็นข้อพิพากษาในคดีนั้นก่อน รายงานนี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่จะต้องทราบ เพื่อการซักถาม อบรม พิจารณาพิพากาต่อไป ซึ่งถ้าปรากฏข้อเท็จจริงใหม่ก็อาจมีความเห็นต่างไปจากที่ปรากฏในรายงานได้ การนั่งพิจารณา ให้ตามผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนขึ้นนั่งพิจารณาในห้องพิจารณาหรือบนบัลลังก์แต่บางทีผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนต้องนั่งพิจารณาต่อเนื่องหลายคดี ผู้พิพากษาสมทบก็ขึ้นบัลลังก์ไปสมทบกับผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนตามที่เจ้าหน้าที่บัลลังก์มาเชิญ เมื่ออกนั่งพิจารณานั้น ผู้พิพากษาสมทบเป็นตุลาการเต็มภาคภูมิ ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อสิทธิเสรีภาพ อนาคต และทรัพย์สินของบุคคลที่เป็นคู่ความที่ปรากฏต่อหน้า จึงควรต้องมีข้อซักถามอบรมและสงเคราะห์ตลอดจนแสดงความคิดเห็นในทางคดี ผู้พิพากษาสมทบจะนั่งพิจารณาโดยสง่าผ่าเผยและสุภาพ ใช้วาจานุ่มนวล ชัดเจน ฟังง่าย และเป็นมิตรทำให้เกิดบรรยากาศอบอุ่นเหมือนเป็นเรื่องสงเคราะห์กันในครอบครัว ยิ่งกว่าที่จะเป็นบรรยากาศแห่งความอึดอัด น่าเกรงกลัว และจะไม่มีการใช้ถ้อยคำอันไม่เหมาะสม ในเชิงดูถูกดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือเหยียดหยามบุคคลใด การพิจารณาคดีจะต้องตั้งจิตใจให้เป็นสมาธิ มีสติอยู่ด้วยหลักธรรม คือ พรหมวิหาร 4 และอคติ 4 บริสุทธิ์ ยุติธรรม พร้อมที่จะเผชิญถ้อยคำ การแสดงออกเรื่องราว และเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดฝันตลอดเวลาด้วยความสุขุม คัมภีรภาพ การซักถามพยาน คู่ความ หรือบุคคลใดในระหว่างสืบพยาน ควรจะได้หารือกับผู้พิพากษาก่อนเพื่อมิให้เป็นการเสียหายแก่รูปคดีของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ถ้ามีความจำเป็นอย่างยิ่งทำให้ต้องลงจากบัลลังก์ชั่วคราว ก็ขออนุญาตผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นหรือปรึกษากับผู้พิพากษาเพื่อขอให้เลื่อนการพิจารณาออกไปก่อน ผู้พิพากษาสมทบมีหน้าที่ต้องรักษาความลับของคดีนั้นไว้ ตามที่ได้ปฏิญาณตนต่อหน้าอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ก่อนเริ่มปฏิบัติหน้าที่ ไม่อาจวิพากษ์วิจารณ์เรื่องราวของคดีให้บุคคลอื่นใดทราบ ในระหว่างคดี ผู้พิพากษาสมทบพึงหลีกเลี่ยงการนัดหมายกับเด็กเยาวชน และผู้ปกครองของเด็กหรือเยาวชนนั้น เพื่อช่วยเหลือกันเป็นการส่วนตัวนอกศาล โดยไม่ใช้วิธีการของศาลหรือสถานพินิจตามกฎหมาย เพราะอาจนำมาซึ่งข้อครหา อันทำให้เกิดความเสื่อมเสียแก่ผู้พิพากษาสมทบได้ การพิจารณาคดี กรณีที่จำเลยรับสารภาพว่า ได้กระทำความผิดจริง เมื่อผู้พิพากษาได้สอบถามจำเลยเสร็จแล้ว ผู้พิพากษาจะให้ผู้พิพากษาสมทบทำการอบรม การอบรมเป็นศิลปะและพรสวรรค์ของผู้พิพากษาสมทบแต่ละบุคคล แต่หลักสำคัญคือ ต้องพูดอบรมด้วยวาจาที่สุภาพกับจำเลยหรือผู้ปกครองจำเลย แสดงความเมตตาต่อจำเลยโดยคำนึงถึงสวัสดิภาพ อนาคต ที่จะให้จำเลยได้รับการฝึกอบรมวิชาชีพ อบรมสั่งสอนและสงเคราะห์ เพื่อการสำนึกผิดและกลับตัวเป็นพลเมืองดีต่อไป ชี้สาเหตุการกระทำผิดและแนะข้อแก้ไขให้จำเลย ถ้าจำเลยประพฤติเสียหายเพราะผู้ปกครองมีส่วนผิดก็ควรชี้แนะให้ผู้ปกครองแก้ไขด้วย และควรให้ผู้ปกครองจำเลยได้แสดงความคิดเห็นที่จะป้องกันไม่ให้เด็กหรือเยาวชนกระทำผิดอีก และสามารถรับรองกับศาลได้ว่าจะไม่ให้เด็กหรือเยาวชนนั้นการทำความผิดอีก การอบรมจำเลยซึ่งเป็นเด็กหรือเยาวชนนั้น ควรใช้คำพูดที่เข้าใจง่ายด้วยความเข้าใจและตระหนักถึงสภาพแวดล้อมของเด็กหรือเยาวชนนั้น ซึ่งส่วนมากจะเป็นเด็กหรือเยาวชนที่มาจากครอบครัวที่ยากจนแร้นแค้น การศึกษาน้อย อาศัยอยู่สภาพแวดล้อมที่ไม่ดีตลอดมา ระหว่างการอบรม ไม่ควรพูดให้ความหวังแก่จำเลยในทำนองว่า ศาลจะรอการลงโทษหรือการกำหนดโทษให้จำเลย เพราะการพิพากษานั้นจะต้องมาจากเสียงข้างมากขององค์คณะ 4 ท่าน เมื่อปรึกษากันทั้งคณะแล้วถ้ากลับเอาตัวไว้ฝึกอบรมก็ทำให้เกิดความสับสนแก่จำเลย และเมื่อศาลตัดสินแล้วก็ไม่ควรมีการอบรมอีก แต่ไม่ห้ามที่ผู้พิพากษาสมทบจะอธิบายวิธีการปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลให้จำเลยและผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจ ในกรณีที่จำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำผิดตามฟ้อง ผู้พิพากษาสมทบไม่ต้องกระทำการอบรมใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะกฎหมายถือว่าจำเลยยังเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ ในกรณีศาลจะให้โจทก์นำพยานมาเบิกความเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลย บทบาทของผู้พิพากษาสมทบระหว่างการสืบพยานนี้มีความสำคัญมาก ผู้พิพากษาสมทบจะต้องตั้งใจให้ฟังคำเบิกความของพยานฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยทุกปากให้เข้าใจ และบันทึกความสำคัญของคำเบิกความของพยานแต่ละฝ่ายทุกปากไว้ เพื่อรอปรึกษาองค์คณะว่าจำเลยได้กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ผู้พิพากษาสมทบจะได้ให้ความเห็นได้โดยละเอียดถี่ถ้วนจากการฟังคำเบิกความระหว่าง สืบพยาน ถ้าจำเลยผิดตามฟ้อง ผู้พิพากษาจะปรับบทกฎหมายกำหนดทา หรือเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นให้ส่งตัวไปฝึกและอบรมมีการกำหนดเวลามากน้อยตามองค์คณะจะเห็นสมควรร่วมกันตามเสียงข้างมาก การพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัว ให้ศาลพยายามเปรียบเทียบให้คู่ความได้ตกลงกัน หรือประนีประนอมกันในข้อพิพาทนั้นโดยคำนึงถึงความสงบสุขและการอยู่ร่วมกันในครอบครัวเพื่อการนี้ให้ศาลคำนึงถึงหลักการดังต่อไปนี้ เพื่อประกอบดุลพินิจด้วยคือ 1. การสงวน และคุ้มครองสถานภาพของการสมรส หากไม่อาจรักษาสถานภาพของการสมรสไว้ได้ ก็ให้การอย่าเป็นไปด้วยความเป็นธรรมและเสียหายน้อยที่สุด โดยคำนึงถึงสถานภาพและอนาคตของบุตรเป็นสำคัญ 2. การคุ้มครองและช่วยเหลือครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะที่ครอบครัวนั้นต้องรับผิดชอบในการดูแลให้การศึกษาแก่บุตรผู้เป็นผู้เยาว์ 3. การคุ้มครองสิทธิของบุตร และส่งเสริมสวัสดิภาพของบุตร 4. หามาตรการต่าง ๆเพื่อช่วยเหลือสามีภริยาให้ปรองดองกัน และปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างกันเองและบุตร การจะไกล่เกลี่ยคดีครอบครัวได้สำเร็จหรือไม่ น่าจะอยู่ที่ความเข้าใจถ่องแท้ในข้อมูลในความรู้จริงแท้จริงของคู่ความและบุคคลที่เกี่ยวข้อง และความร่วมมือร่วมใจกันของตัวทนายความ ผู้พิพากษา และผู้พิพากษาสมทบ ถ้าเป็นคดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือสถานภาพในทางครอบครัวของผู้เยาว์ เช่น ร้องขอทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ ขอเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ หรือขอให้พิพากษาเป็นบุตร เป็นต้น ก้ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์สวัสดิภาพ และความสุขของผู้เยาว์ทั้งในปัจจุบันและอนาคตเป็นสำคัญ การลงลายมือชื่อสำนวนความ เมื่อเสร็จการพิจารณาพิพากษาคดีแล้ว ผู้พิพากษาสมทบต้องสนใจ ลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาชื่ออันดับ 1 และอันดับ 2 เป็นผู้พิพากษา อันดับ 3 และอันดับ 4 เป็นของผู้พิพากษาสมทบ ซึ่งชื่อของท่านใดจะเป็นอันดับ 3 อันดับ 4 ให้ดูที่หน้าปกสำนวน และต้องอยู่รอคอยลงชื่อในคำพิพากษาให้เสร็จไปในวันพิจารณาคดีนั้น เพราะผู้พิพากษาจะต้องส่งสำนวนให้อธิบดีตรวจตามระเบียบในวันรุ่งขึ้น เจ้าหน้าที่จะเป็นผู้พิมพ์ร่างคำพิพากษา จากนั้นจะนำคำพิพากษาที่พิมพ์เสร็จแล้วมาวางไว้ที่โต๊ะในห้องผู้พิพากษาสมทบ เป็นหน้าที่ของผู้พิพากษาสมทบ จะต้องตรวจดูว่าคดีที่ตนเองได้พิจารณาพิพากษาหรือไม่ ถ้ามีต้องรีบลงนาม 2 แห่ง ในคราวเดียวกัน ที่ต้นฉบับ 1 แห่ง และที่สำเนาอีก 1 แห่ง ในแต่ละวันที่ผู้พิพากษาสมทบได้รับเชิญมาศาลเพื่อเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีนั้นผู้พิพากษาสมทบจะต้องอยู่เพื่อปฏิบัติหน้าที่ โดยลงนามรายงานกระบวนการพิจารณาคดีและคำพิพากษาโดยครบถ้วนทุกคดีแล้วผู้พิพากษาสมทบจึงจะกลับได้ เนื่องจากการทำสำนวนก็ดี การสั่งฟ้อง คำร้อง คำขอ คำแถลง การจดบันทึกคำพยาน รวมตลอดทั้งการร่างคำพิพากษาหรือคำสั่งก็ดี เป็นภาระหน้าที่ของผู้มีความรู้ทางกฎหมายโดยเฉพาะ และเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้พิพากษานายเดียวกระทำได้อยู่แล้ว ผู้พิพากษาสมทบเพียงแต่ร่วมเป็นองค์คณะกับผู้พิพากษารับทราบสำนวนคดีและรายงานของสถานพินิจ และออกนั่งพิจารณาเพื่อฟังการพิจารณา ซักถาม ไกล่เกลี่ย เปรียบเทียบ อบรมร่วมกับผู้พิพากษา และออกความเห็น พร้อมทั้งลงนามในรายงานกระบวนการพิจารณา สัญญาประนีประนอมยอมความ คำพิพากษาและคำสั่งที่ตัดสินชี้ขาดคดีเท่านั้น ดังนั้น การดำเนินการซึ่งเป็นภาระหน้าที่ที่ผู้พิพากษากระทำไปได้โดยลำพังดังกล่าว ซึ่งรวมทั้งการจดบันทึกข้อหรือขีดเขียนอย่างใดลงในสำนวนผู้พิพากษาสมทบจึงไม่ต้องกระทำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น